บทความสาระน่ารู้
โรคใบด่างมันสําปะหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส ในวงศ์ Geminiridae สกุล Begomovirus ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10 ชนิด โดยพบในทวีปแอฟริกา 8 ชนิด และในทวีปเอเชีย 2 ชนิด ได้แก่ Indian cassava mosaic virus (ICMV) พบในประเทศอินเดีย และ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) พบในประเทศศรีลังกา อินเดีย เวียดนาม และกัมพูชา
ลักษณะอาการของโรค
ใบด่างและใบหงิก เสียรูปทรง อาการด่างมีหลายแบบ เช่น ด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม ด่าง เหลือสลับเขียว ใบหงิก หรือ หงิกเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่ เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ยอดหงิก ต้นแคระแกร็น
การแพร่ระบาด
สามารถแพร่ระบาดโดยท่อนพันธุ์ โดยมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) เป็นพาหะ นําโรค ซึ่งแมลงหวี่ขาวยาสูบมีพืชอาศัยหลายชนิด เช่น กะเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง พืชตระกูลพริก มะเขือ มันฝรั่ง และพืชตระกูลแตง ทําให้มีการแพร่ระบาดไปได้อย่างกว้างขวาง
วิธีการป้องกันกําจัด
1. ห้ามนําเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายท่อนพันธุ์มันสําปะหลังจากต่างประเทศ ยกเว้นมันเส้นและ หัวมันสด ตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550
2. สอดส่องการลักลอบนําเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์มันสําปะหลัง จากต่างประเทศ หากพบ ให้แจ้งสํานักงานเกษตรอําเภอ สํานักงานเกษตรังหวัด กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย และกรมวิชาการเกษตร
3. ใช้พันธุ์ที่ปลอดโรคโดยไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่พบการระบาดของโรค หรือแหล่งที่พบอาการ ของโรค หรือท่อนพันธุ์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือท่อนพันธุ์ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสใบด่างมันสําปะหลัง
4. สํารวจแปลงมันสําปะหลังอย่างสม่ําเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
5. กําจัดแมลงพาหะ ได้แก่ แมลงหวี่ขาวยาสูบ
6. เฝ้าระวังการระบาด ของไวรัส ใบด่างในพืชอาศัยอื่นๆ ที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ โดย หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เช่น โหระพา กะเพรา ผักชีฝรั่ง พริก มะเขือ มัน ฝรั่ง และพืชตระกูลถั่ว และพืชอาศัยของเชื้อไวรัสใบด่างมันสําปะหลัง เช่น สบู่ดํา ละหุ่ง บริเวณ แปลงปลูกมันสําปะหลัง