บทความสาระน่ารู้
???? สำหรับปรากฏการณ์เอลนีโญ หลายภาคส่วนได้ออกมาเตือนทั้งสภาวะอากาศ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคการเกษตร ดังนี้
➡️ ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้ออกมาประกาศเตือนถึงปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" หรือ ฝนน้อย น้ำน้อย ยาวนานขึ้น
➡️ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์จากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" เริ่มขึ้นแล้ว หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์ “ลานีญา” มาอย่างต่อเนื่อง
➡️ สำหรับประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาออกมาประเมินว่า ไทยมีแนวโน้มจะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมนี้ ส่งผลให้ไทยอาจเผชิญปัญหาฝนทิ้งช่วง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม และอาจทำให้ไทยประสบภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น
.
❓ เอลนีโญคืออะไร
???? เอลนีโญ (El Niño) คือ ปรากฏการณ์ที่กระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทาง โดยพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ไปยังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ซึ่งเอลนีโญจะส่งผลทำให้พื้นที่บริเวณทวีปเอเชียและทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียประสบกับสภาวะแห้งแล้ง
.
???? ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
➡️ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ผลผลิตข้าวนาปีนั้นอาจลดลงอย่างน้อย 4.1-6% หรือคิดเป็น 25.1-25.6 ล้านตัน และถ้าหากเอลนีโญส่งผลกระทบร้ายแรงและยาวนานมากกว่าปกติ อาจทำให้ผลผลิตข้าวโดยรวมทั้งประเทศอยู่ในอัตราต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
➡️ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ให้ความเห็นว่าเอลนีโญอาจสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจถึง 36,000 ล้านบาท
➡️ ทางด้านหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เตือนให้เฝ้าระวังว่าไทยกำลังจะเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร และอาจสร้างความเสียหายถึง 10,000-30,000 ล้านบาท
???? สรุป คำแนะนำสำหรับเกษตรกร นั่นคือ ปีหน้ามีแนวโน้มว่าภัยแล้งจะหนักยิ่งกว่าปีนี้ ดังนั้น ต้องเก็บน้ำต้นทุนในฤดูฝนปีนี้ให้ได้มากที่สุด ผ่านการทำบ่อจิ๋ว บ่อสาธารณะ การขุดลอกคูคลอง และการลงทุนเทคโนโลยีประหยัดน้ำและใช้น้ำซ้ำ เป็นต้น
.
???? อ้างอิงข้อมูล
▶ ไทยบีพีเอส